Last updated: 27 พ.ย. 2567 | 409 จำนวนผู้เข้าชม |
กรณีการเสียชีวิตของ “วิทยา ศุภพรโอภาส” นักจัดรายการ,ดีเจ.ผู้บุกเบิกเพลงลูกทุ่งสู่คลื่นFMรายแรก เมื่อ 18 เมษายน 2565 หลังเข้ารับการผ่าตัดชิ้นเนื้อมะเร็งปอดทั้งสองข้าง ที่โรงพยาบาล บีเอ็นเอช เมื่อ 3 เมษายน 2565 นั้น
.
ซึ่ง “เป้-ศุภวิทย์ ศุภพรโอภาส” ลูกชาย “วิทยา และญาติ ๆ ต่างติดใจสาเหตุการเสียชีวิตของคุณพ่อ จึงได้แถลงข่าวณ ณ ศาลาเมรุ วัดราชวรินทร์ ธนบุรี โดยมี “เป็ด เชิญยิ้ม”หรือ “ดร.ธัญญา โพธิ์วิจิตร” นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์
นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย
.
“เป้-ศุภวิทย์ ศุภพรโอภาส”ลูกชายวิทยาผู้ล่วงลับและ “ธงชัย พรเศรษฐ์”รองนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย โดยมีเนื้อหาหลักในการแถลงข่าวดังนี้
.
เนื่องจาก คุณวิทยาได้ตรวจรักษาที่โรงพยาบาล บีเอ็นเอช เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดเป็นอย่างดี
.
และทีมแพทย์ประเมินแล้วว่าทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาล บีเอ็นเอช ได้ ซึ่งหลังการผ่าตัด คุณวิทยา ปลอดภัย สามารถทักทายกับญาติได้ โดยพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู
.
แต่ปรากฏว่าคืนวันเดียวกันนั้น คุณวิทยา มีอาการวิกฤตจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่อาการไม่ดีขึ้น จนต้องขอยืม เครื่องพยุงปอดและหัวใจ (ECMO) มาจากโรงพยาบาลจุฬา ซึ่งใช้ระยะเวลาขนย้ายเครื่องมาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงได้ใช้ในการช่วยเหลือชีวิตคุณวิทยา แต่ก็ต้องย้ายไปที่ ไอซียูของโรงพยาบาลจุฬา ในที่สุด
.
ที่โรงพยาบาลจุฬา แพทย์แจ้งว่า คุณวิทยาอาการคงที่แล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ อาจจะไม่ฟื้น และอาจต้องตัดแขนข้างซ้ายออก เนื่องจาก ในระหว่างการช่วยเหลือ สมองขาดออกซิเจน และเลือดไปเลี้ยงที่แขนซ้ายไม่เพียงพอ โดยแพทย์ได้สรุปเหตุการณ์คร่าว ๆ ว่า
.
ในคืนเกิดเหตุ คุณวิทยามีอาการหายใจลำบาก ทางไอซียูของโรงพยาบาล BNH ได้ทำการใช้เครื่องช่วยหายใจใส่ให้คุณคุณวิทยา แต่เนื่องจากปอดที่ได้รับการผ่าตัดมานั้น ทนแรงดันของเครื่องช่วยหายใจไม่ได้ จึงทำให้ปอดฉีกออก และมีเลือดออกมาก และทำให้ปอดไม่สามารถผลิตออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ
.
จน 48 ชั่วโมงต่อมา ทางทีมแพทย์ได้ยืนยันว่า คุณวิทยา สมองตาย จากนั้น 18 เมษายน 2565 คุณวิทยาก็จากไปอย่างสงบ
.
ข้อสงสัยในการเสียชีวิตของคุณวิทยา ศุภพรโอภาส
(1) การประเมินของทีมแพทย์ผ่าตัด ที่ให้ทาการผ่าตัดปอดทั้งสองข้างพร้อมกันได้ มีความถูกต้อง และได้เตรียมความพร้อมหลังผ่าตัดไว้แค่ไหน
.
(2) เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น และคุณวิทยาฟื้นแล้ว เกิดเหตุการณ์อะไร ที่ทาให้คุณวิทยาอยู่ในภาวะวิกฤติอีก จนถึงขั้นต้องทาการช่วยชีวิต (ทั้งที่ห้องไอซียู ต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ครบถ้วน)
.
(3) การช่วยชีวิตคุณวิทยาในห้องไอซียูของโรงพยาบาล BNH เป็นอย่างไร (การใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่งผลกระทบต่อปอดที่ทาการผ่าตัด จนปอดฉีก มีเลือดออก ถูกต้อง หรือสมควรหรือไม่) ทาให้สมองคุณวิทยาขาดออกซิเจน จนถึงขั้นวิกฤตหรือไม่
.
(4) เมื่อคุณวิทยาอาการวิกฤตแล้ว และต้องใช้เครื่องพยุงปอดและหัวใจ (ECMO) แต่โรงพยาบาล BNH ต้องขอยืมและขนย้ายเครื่อง ECMO มาจากโรงพยาบาลจุฬา โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
.
เหตุใดจึงไม่มีการเตรียม เครื่อง ECMO ไว้ที่ โรงพยาบาล BNH ตั้งแต่แรก และเครื่อง ECMO มาถึงช้าเกินไปหรือไม่
เพราะอะไร จึงต้องรอเครื่อง ECMO ถึง 3 ชั่วโมง และเมื่อเครื่อง ECMO มาถึงแล้ว ทาไมต้องย้ายคุณวิทยาไปที่ โรงพยาบาลจุฬาอีก
หากไม่มีเครื่อง ECMO ที่โรงพยาบาล BNH ตั้งแต่แรก ควรทาการผ่าตัดคุณวิทยาหรือไม่
.
หลังคุณวิทยาเสียชีวิต ทางโรงพยาบาล BNH ได้เรียกทางครอบครัวเข้าไปพูดคุยและแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งหมด โดยแจ้งว่า ทางโรงพยาบาล BNH ได้ทำตามขั้นตอนและมาตรฐานต่าง ๆ แล้ว
.
แต่คุณศุภวิทย์ และญาติ ต่างติดใจการเสียชีวิตของคุณวิทยา จึงได้ให้แพทย์ทาการชันสูตรพลิกศพ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง และพิจารณาการดาเนินการตามกฎหมายต่อไป